การพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนระดับปฐมวัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในโรงเรียนถิ่นทุรกันดารของสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
25
เลขที่สัญญา 9/2566
Other Title: | การพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนระดับปฐมวัยด้านเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา ในโรงเรียนถิ่นทุรกันดารของสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน |
Author: | ดวงใจ เนตรตระสูตร จันทรา แซ่ลิ่ว ศิริมาศ โกศัลย์พิพัฒน์ ปิยะณัฐ จันต๊ะคาด สมเด็จ ภิมายกุล |
Date: | 2023 |
Publisher: | กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพปัญหา ความต้องการ และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนระดับปฐมวัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา (2) พัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนระดับปฐมวัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา และ (3) ประเมินสมรรถนะครูผู้สอนระดับปฐมวัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ในโรงเรียนถิ่นทุรกันดาร ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู และครูผู้สอนระดับปฐมวัยที่สอน ในโรงเรียนถิ่นทุรกันดาร ของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในจังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดแพร่ จังหวัดแม่ฮ่องสอน และจังหวัดตาก จำนวน 60 คน ได้มาด้วยวิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย (1) แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง (2) แบบบันทึกการวิเคราะห์ SWOT (3) แบบประเมินสมรรถนะครูผู้สอนระดับปฐมวัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา (4) แบบประเมินคู่มือการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนระดับปฐมวัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา (5) แบบบันทึกกระบวนการชุมชนแห่งการเรียนรู้ (Professional Learning Community: PLC) และ (6) แบบบันทึกการทบทวนหลังปฏิบัติงาน (After Action Review: AAR) วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า (1) สภาพปัญหา คือ ไฟฟ้ายังเข้าไม่ถึง สัญญาณอินเตอร์เน็ตไม่เสถียร ขาดความพร้อมด้านอุปกรณ์เทคโนโลยีที่ทันสมัยและใช้งานได้ และครูผู้สอนขาดทักษะและสมรรถนะด้านการใช้การผลิตสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ความต้องการในการพัฒนาสมรรถนะด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา คือ ไฟฟ้าและสัญญาณอินเทอร์เน็ตที่เหมาะสมต่อการใช้งานได้ อุปกรณ์เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาทั้งรูปแบบออนไลน์และออฟไลน์ และแนวทางการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนระดับปฐมวัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา คือ การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ด้านการผลิตสื่อเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาระดับปฐมวัยและมีกระบวนการกำกับติดตามอย่างเป็น ระบบ (2) ผลการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนระดับปฐมวัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา ใน โรงเรียนถิ่นทุรกันดาร ของสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า การประเมิน คู่มือการพัฒนาสมรรถนะครูผู้สอนระดับปฐมวัยด้านเทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา จากผู้เชี่ยวชาญ มี ค่าเฉลี่ย =4.67 อยู่ในระดับมากที่สุด และการประเมินผลความพึงพอใจในการพัฒนาตามกรอบ สมรรถนะ 9 ด้าน มีค่าเฉลี่ย = 4.53 อยู่ในระดับมากที่สุด (3) ผลการประเมินสมรรถนะด้าน เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษาของครูผู้สอนในระดับปฐมวัย ก่อนและหลังได้รับการพัฒนาตามกรอบ สมรรถนะทั้ง 9 ด้าน พบว่า ก่อนได้รับการพัฒนา มีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน =3.49, S.D.= 0.54 อยู่ในระดับปานกลาง ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านที่ 8 จรรยาบรรณในการใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัล มีค่าเฉลี่ย = 4.00 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านที่ 4 รู้เท่าทันสื่อเทคโนโลยี ดิจิทัลและใช้ได้อย่างปลอดภัย มีค่าเฉลี่ย = 3.03 และหลังได้รับการพัฒนาตามกรอบสมรรถนะทั้ง 9 ด้านมีค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน = 4.26 S.D. = 0.43 อยู่ในระดับดี ด้านที่มีค่าเฉลี่ย มากที่สุด คือด้านที่ 1 ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับสื่อเทคโนโลยีดิจิทัล มีค่าเฉลี่ย = 4.65 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือด้านที่ 9 การใช้สื่อเทคโนโลยีดิจิทัลในโรงเรียนถิ่นทุรกันดาร มีค่าเฉลี่ย = 3.79 คำสำคัญ: การพัฒนาสมรรถนะ, ครูผู้สอนระดับปฐมวัย, เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา, โรงเรียนถิ่นทุรกันดาร This research aims to (1) analyze the problems, needs, and development directions of early childhood educators’ digital technology competencies for education, (2) develop the digital technology competencies of early childhood educators for education, and (3) evaluate the digital technology competencies of early childhood educators in protected schools under under the Office of the Basic Education Commission in Chiang Mai, Phrae, Mae Hong Son, and Tak provinces. The sample group consists of 60 individuals selected through purposive sampling. The research tools include (1) semi-structured interviews, (2) SWOT analysis recording forms, (3) assessment forms for digital technology competencies of early childhood educators, (4) guidebook assessment forms for developing digital technology competencies of early childhood educators, (5) Community of Professional Learning Community (PLC) recording forms, and (6) After Action Review (AAR) recording forms. Data were analyzed by calculating the mean and standard deviation. The research findings reveal that (1) the problems include lack of electricity access, unstable internet signals, insufficient readiness in terms of contemporary and functional technological equipment, and teachers lacking skills and competencies in producing digital media for education. The development needs for digital technology competencies include suitable electricity and internet signals for operational use, contemporary and functional digital technology equipment for both online and offline formats, and systematic training in digital media production for early childhood education with systematic monitoring processes. (2) The development of digital technology competencies among early childhood educators in protected schools under the Basic Education Commission shows that the average assessment score for guidebook assessment of digital technology competencies for education, as evaluated by experts, is 4.67, which is rated as the highest level. The average satisfaction score for development following the competency framework in nine aspects is 4.53, also rated as the highest level. (3) The assessment results of digital technology competencies among early childhood teachers before and after receiving training based on the competency framework in all nine aspects indicate that before training, the average score and standard deviation were 3.49 and 0.54, respectively, rated as moderate. The highest-rated aspect was ethical use of digital media with a score of 4.00, while the lowest-rated aspect was knowledge and safe use of digital media, with a score of 3.03. After training, the average score and standard deviation were 4.26 and 0.43, respectively, rated as good. The highest-rated aspect was basic knowledge of digital media with a score of 4.65, while the lowest-rated aspect was using digital media in protected schools with a score of 3.79. Keywords: Competency Development, Early Childhood Teachers, Digital Technology for Education, Protected School |
เจ้าของลิขสิทธิ์: | กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ |
ดู/เปิด: |
ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาสื่อสร้างสารภาษาไทยเพื่อการบริการสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน
17 มีนาคม 2568
21
ครั้ง
การพัฒนาแพลตฟอร์มแบบฝึกทักษะอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคปกติวิถีใหม่
17 มีนาคม 2568
20
ครั้ง
พัฒนาทักษะแห่งศตวรรษที่ 21 ด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลสำหรับครูและบุคลากรทางการศึกษา
17 มีนาคม 2568
18
ครั้ง
ข่าวสารล่าสุด
ร่วมแสดงความยินดีกับ ผอ.ศทก. เนื่องในโอกาสดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านเทคโนฯ
16 พฤษภาคม 2568
15
ครั้ง
ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี 2567
13 พฤษภาคม 2568
18
ครั้ง
ข้อมูลสถิติเชิงให้บริการ 2567
13 พฤษภาคม 2568
19
ครั้ง
โครงการพัฒนาองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ศทก.
30 เมษายน 2568
33
ครั้ง