ผลงานของกองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา

เลขที่สัญญา 4/2566

Other Title: การพัฒนาทักษะ Coding สำหรับนักเรียนโรงเรียนขนาดเล็กในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนกลาง เพื่อลดความเหลื่อมล้ำด้วยนวัตกรรมทางการศึกษา
Author: พรสวรรค์ วงค์ตาธรรม
จารุณี ซามาตย์
อิศรา ก้านจักร
สุชาติ วัฒนชัย
พิญญารัศม์ สิงหะ
Date: 2023
Publisher: กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
Abstract: การดำเนินงานในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ออกแบบและพัฒนาหลักสูตรการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะ Coding ด้วยนวัตกรรม AR Smart Froggy สำหรับครูระดับประถมศึกษา 2) ศึกษาการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะ Coding สำหรับนักเรียน ด้วยนวัตกรรม AR Smart Froggy ของครู 3) ศึกษาทักษะ Coding ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม AR Smart Froggy 4) ศึกษาความสัมพันธ์ของทักษะ Coding กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม AR Smart Froggy และ 5) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม AR Smart Froggy การดำเนินงานของโครงการนี้ดำเนินงานตามรูปแบบการวิจัยเชิงพัฒนา (Developmental Research) แบบ Type I (Richey and Klein, 2007) ซึ่งมุ่งเน้นกระบวนการออกแบบและพัฒนา ซึ่งประกอบด้วย 3 กระบวนการ ดังนี้ กระบวนการที่ 1 การออกแบบ (Design process) กระบวนการที่ 2 การพัฒนา (Development process) และ กระบวนการที่ 3 การประเมิน (Evaluation process) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัยครั้งนี้มี 3 กลุ่ม ได้แก่ ด้านการออกแบบและพัฒนานวัตกรรม ด้านวัดและประเมินผล รวมจำนวน8 คน ครูระดับประถมศึกษา จำนวน 24 คน และนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับชั้นประถมศึกษา จำนวน 302 คน โดยใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง (Purposive sampling)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการศึกษาความพึงพอใจของครูหลังอบรมเชิงปฏิบัติการ พบว่า ผู้เข้าอบรม 24 คน (N = 24) มีความพึงพอใจต่อการอบรมเชิงปฏิบัติการโดยภาพรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.39, S.D. = 0.48) 2) ผลการศึกษาความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะ Coding สำหรับนักเรียน ด้วยนวัตกรรมของครูระดับประถมศึกษา พบว่า ครูมีความสามารถในการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะ Coding สำหรับนักเรียนด้วยนวัตกรรม อยู่ในระดับดีเยี่ยม (ร้อยละ 85.67) 3) ผลการศึกษาทักษะ Coding ของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม นักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 – ประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 302 คน (N = 302) พบว่า โดยภาพรวม นักเรียนมีทักษะ Coding อยู่ในระดับ Intermediate (ร้อยละ 66.92) 4) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ของทักษะ Coding กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ที่ได้รับการ จัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม พบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูงมาก โดยมี ค่าสัมประสิทธิสหสัมพันธ์ r = 0.86 5) ผลการศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยนวัตกรรม นักเรียนที่ตอบแบบสำรวจ จำนวน 302 คน (N = 302) พบว่า โดยภาพรวมนักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก (𝑥̅ = 4.37, S.D. = 0.56)
         This study was aimed to 1) designing and developing the learning management for enhanced coding skill curriculum using AR Smart Froggy for elementary school teachers, 2) to study the learning management skill of teacheer witth AR Smart Froggy to enhance coding skills for students AR Smart Froggy, 3) to study coding skill of children using the AR Smart Froggy, 3) to study relationships between coding skill and learner’s achievement of children using the AR Smart Froggy and 4) study learner’s attitudes learning with AR Smart Froggy.
         The developmental research (phase I) was employed in this study. The procedures were as following: 1) design process 2) development process 3) evaluation process. The target group consisted of 2 groups 1) experts for content, instructional design, media professionals and for the evaluation 2) students studying in Primary Educational.
The result revealed that:
1) The teacher’ attitude of teachers towards on training workshop was at the high level
(𝑥̅ = 4.39, S.D. = 0.48).
2) The competency of learning management for enhanced coding skill of teachers was at a highest level (85.67%)
3) The coding skill of the students (N = 302) was at a Intermediate level (66.92%)
4) The learning achievement was significantly and positively related to coding skill a very highest level (r = 0.86) of positive correlation.
5) The learners’ attitude of leaners towards learning with the AR Smart Froggy was at the highest level (= 4.37, S.D. = 0.56). 𝑥̅
เจ้าของลิขสิทธิ์: กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ดู/เปิด: ดาวน์โหลด