การพัฒนาสื่อสร้างสารภาษาไทยเพื่อการบริการสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน

เลขที่สัญญา 10/2566

Other Title: การพัฒนาสื่อสร้างสารภาษาไทยเพื่อการบริการสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน
Author: นพมาศ ปลัดกอง
ศศิวิมล คงสุวรรณ
ศรายุทธ ปลัดกอง
พรเพ็ญ เหล็กดีเศษ
Date: 2023
Publisher: กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบกึ่งทดลอง (Quasi-experimental Research) ใช้แผนการศึกษากลุ่มเดียว โดยทดสอบก่อนและหลังการฝึกอบรม (One Group Pretest Posttest Design) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาและจัดทาข้อมูลสื่อทางภาษาไทยในงานบริการในร้านค้าสะดวกซื้อ ประกอบด้วยข้อมูลในระดับคาและประโยคการสนทนาที่จาเป็นพื้นฐานทางการรับและให้บริการในร้านสะดวกซื้อ 2) สร้างและพัฒนาเครื่องมือการสื่อสารในรูปแบบแอปพลิเคชันสาหรับการสื่อสารในงานบริการในร้านสะดวกซื้อโดยมีภาษามือไทยกากับ 3) ฝึกอบรมการใช้แอปพลิเคชันสาหรับการสื่อสารในงานบริการในร้านสะดวกซื้อแก่ผู้บกพร่องทางการได้ยิน และกลุ่มพนักงานทางด้านการให้บริการในร้านสะดวกซื้อ ประชากร ได้แก่ ผู้บกพร่องทางการได้ยิน และ พนักงานให้บริการในร้านสะดวกซื้อ คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง (Purposive Sampling) ได้แก่ กลุ่มผู้บกพร่องทางการได้ยิน จานวน 50 คน เป็นนักศึกษาผู้บกพร่องทางการได้ยินจากมหาวิทยาลัยสวนดุสิต และพนักงานให้บริการในร้านสะดวกซื้อ จานวน 50 คน รวม 100 คน
ผลการวิจัยพบว่า 1) การจัดทาข้อมูลสื่อภาษาไทยในงานบริการในร้านสะดวกซื้อ ทั้งสิ้น 103 ชุดข้อมูล ประกอบด้วย คำศัพท์ จำนวน 57 ชุดข้อมูล และ ประโยค จำนวน 46 ชุดข้อมูล
2) แอปพลิเคชันสาหรับการสื่อสารในงานบริการในร้านสะดวกซื้อ โครงสร้างของคำศัพท์ 4 กลุ่ม คือ เครื่องดื่ม สินค้าบริโภค สินค้าอุปโภค และหมวดบริการ ประโยค 6 ลักษณะ คือ บอกเล่า คำถาม ขอร้อง ปฏิเสธ คำสั่ง และห้ามคุณภาพของแอปพลิเคชันประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย 4.80
3) หลักสูตรฝึกอบรม “ภาษามือเพื่องานบริการ และการใช้งานแอปพลิเคชัน” คะแนนทดสอบความรู้ก่อนเรียน ค่าเฉลี่ย 11.33 และหลังเรียนค่าเฉลี่ย 18.32 เมื่อเปรียบเทียบคะแนนโดยใช้สถิติ T-test พบว่า คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนความพึงพอใจต่อการใช้งานแอปพลิเคชันอยู่ในระดับดีมาก ค่าเฉลี่ย 4.81 และความพึงพอใจต่อหลักสูตรการฝึกอบรมภาพรวมอยู่ในระดับดีมากเช่นกัน
คำสำคัญ: ภาษามือเพื่องานบริการ ผู้บกพร่องทางการได้ยิน แอปพลิเคชัน
         This study employs a quasi-experimental research design utilizing a one-group pretest-posttest framework. The objectives are as follows: 1) To examine and compile data on Thai language communication in service activities within convenience stores, encompassing fundamental conversational data essential for both receiving and providing services in such environments. 2) To develop and design communication tools in the form of an application for service activities within convenience stores, supplemented with guidance in Thai sign language. 3) To provide training for hearing-impaired individuals and service personnel within convenience stores on the usage of the communication application during service activities. The target population comprises hearing-impaired individuals and service personnel working in convenience stores. A purposive sampling method was employed to select a specific sample group, which included 50 hearing-impaired students from Suan Dusit University and 50 convenience store service personnel, totaling 100 individuals.
         The research yielded the following findings: 1) A compilation of Thai language communication data in service activities within convenience stores, totaling 103 datasets, comprising 57 sets of vocabulary and 46 sets of sentences. 2) The developed communication application for service activities within convenience stores encompassed four groups of vocabulary: beverages, consumer products, household items, and service categories. Additionally, it included six sentence types: narration, questions, requests, denials, commands, and prohibitions. The application was evaluated by experts and deemed excellent, with an average rating of 4.80. 3) The training course titled “Sign Language for Service Work and Application Usage” demonstrated an average pre-test score of 11.33 and an average post-test score of 18.32. A T-test comparison indicated that the post-test scores were significantly higher than the pre-test scores at a statistically significant level of .05. Satisfaction with the application usage received an excellent rating, with an average score of 4.81. Overall satisfaction with the training course was also rated as excellent.
Keywords : Sign language, Hearing-impaired, Application
เจ้าของลิขสิทธิ์: กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ดู/เปิด: ดาวน์โหลด