การพัฒนาระบบการทดสอบวินิจฉัยความฉลาดทางดิจิทัลโดยใช้โมเดลวินิจฉัยพุทธิปัญญาที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับอัตโนมัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น
20
เลขที่สัญญา 11/2565
Other Title: | การพัฒนาระบบการทดสอบวินิจฉัยความฉลาดทางดิจิทัลโดยใช้โมเดลวินิจฉัยพุทธิปัญญาที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับอัตโนมัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น |
Author: | อัศนีย์ ทองศิลป์ |
Date: | 2022 |
Publisher: | กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ |
Abstract: | การวิจัยและการพัฒนานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ(1) พัฒนาแบบสอบวินิจฉัยความฉลาดทางดิจิทัลโดยใช้โมเดลวินิจฉัยพุทธิปัญญาที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับ และ (2)พัฒนาระบบการทดสอบวินิจฉัยความฉลาดทางดิจิทัลโดยใช้โมเดลวินิจฉัยพุทธิปัญญาที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับอัตโนมัติ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นตัวอย่างวิจัยคือ นักเรียนที่กำลังศึกษาในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นประจำปีการศึกษา 2565 มีวิธีดำเนินการวิจัย2 ระยะ ได้แก่ระยะที่ 1 ศึกษาองค์ประกอบของความฉลาดทางดิจิทัลและพัฒนาแบบสอบวินิจฉัยความฉลาดทางดิจิทัลตัวอย่างวิจัยจำนวน 945 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอนระยะที่ 2 พัฒนาระบบและประเมินคุณภาพระบบทดสอบวินิจฉัยความฉลาดทางดิจิทัลโดยใช้โมเดลวินิจฉัยพุทธิปัญญาที่มีการให้ข้อมูลย้อนกลับอัตโนมัติตัวอย่างวิจัย จำนวน 30 คนใช้วิธีการเลือกแบบเฉพาะเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน แบบสอบวินิจฉัยความฉลาดทางดิจิทัล และแบบประเมินประสิทธิภาพระบบ การวิเคราะห์ข้อมูล ประกอบด้วย การตรวจสอบความสอดคล้องระหว่างข้อสอบกับเมทริกซ์คิวด้วยดัชนี IOC การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน การตรวจสอบคุณภาพข้อสอบตามทฤษฎีการตอบสนองข้อสอบ การตรวจสอบความเที่ยงของแบบสอบด้วยวิธีKR-20 การตรวจสอบคุณภาพเมทริกซ์คิวด้วยวิธีการใช้ดัชนี PVAF,EPS และการทดสอบความน่าจะเป็นในการรอบรู้ทักษะด้วยโมเดล G-DINA ผลการวิจัยพบว่าผลการพัฒนาแบบสอบจากมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเกี่ยวกับความฉลาดทางดิจิทัล พบว่าส่วนใหญ่มีข้อบกพร่องด้านการจัดการร่องรอยทางดิจิทัล การจัดการเวลาในการควบคุมตนเองในการใช้งานหน้าจอ การรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศ แบบสอบประกอบด้วยเนื้อหา45 ประเด็นมีตัวชี้วัด 61 ตัว ครอบคลุมทักษะที่มุ่งวัด8 ด้าน เป็นแบบสอบชนิดเลือกตอบ มีรูปแบบการให้คะแนนแบบ2 ค่า คือ ตอบถูกได้ 1 คะแนน และตอบผิด ได้ 0 คะแนน คุณภาพของแบบสอบด้วยโมเดลการตอบสนองข้อสอบร่วมกับดัชนี PVAF พบว่า มีข้อสอบที่ผ่านเกณฑ์94 ข้อ สำหรับผลการทดลองใช้แบบสอบพบว่า 1) นักเรียนที่มี เพศ อายุ ชั้นปี และเกรดเฉลี่ยสะสมที่แตกต่างกันมีคะแนนความฉลาดทางดิจิทัลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) ผู้สอบส่วนใหญ่สอบผ่านเกณฑ์ขั้นต่ำข้อสอบที่มีโอกาสเดาได้มากที่สุด คือข้อที่ 2 (ร้อยละ 62)และข้อสอบที่มีความสะเพร่ามากที่สุดคือข้อที่ 32 (ร้อยละ 60) 3) ข้อสอบทุกข้อมีความน่าจะเป็นที่ผู้สอบมีจุดแข็งในการตอบข้อสอบได้อย่างถูกต้องมากกว่า .50 ขึ้นไปยกเว้นข้อ 31 และ 4) ผู้สอบมีจุดแข็งมากที่สุด คือ ด้านเอกลักษณ์พลเมืองดิจิทัล ผลการพัฒนาระบบทดสอบวินิจฉัยความฉลาดทางดิจิทัล โดยใช้โมเดลวินิจฉัยพุทธิปัญญา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นเป็นระบบเครือข่ายอินเทอร์เน็ตแบบออนไลน์เขียนด้วยภาษาPHP ร่วมกับฐานข้อมูล MySQL เข้าถึงได้จาก https://www.oneinthai.com/dq ระบบทดสอบแบ่งเป็น 6 ส่วน ได้แก่ (1) การลงทะเบียนเข้าใช้งานระบบ (2) การสร้างชุดข้อสอบ(3)การทดสอบ (4) การให้คะแนนการประมาณค่าความน่าจะเป็นในการรอบรู้ทักษะและระดับความฉลาดทางดิจิทัล (5) การวินิจฉัยข้อบกพร่องและ (6) การออกแบบฐานข้อมูล ผลประเมินประสิทธิภาพของระบบโดยรวมในการออกแบบและการทำงานของระบบพบว่าระบบมีประสิทธิภาพดีมากผลประเมินประสบการณ์ผู้ใช้และความพึงพอใจส่วนเชื่อมต่อของระบบกับผู้ใช้พบว่าผู้ใช้มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด คำสำคัญ โมเดลวินิจฉัยพุทธิปัญญาความฉลาดทางดิจิทัลระบบการทดสอบวินิจฉัย The research and development’s purpose were : (1) to develop the digital intelligence diagnostic test by the cognitive diagnostic model to feedback and (2) to develop the digital intelligence diagnostic test system with automated feedback for students in junior high school level. The research sample were lower secondary students in the 2022 academic year. This research consist of 2 phases: (1) to study the components of digital intelligence and to develop digital intelligence diagnostic test, the sample were 945 students with multistage sampling and (2) to develop and evaluate the digital intelligence diagnostic test system with automated feedback for students in junior high school level, the sample were 30 students with purposive sampling. The research instrument consists of: the misconceptions form, the digital intelligence diagnostic test, and the assessment forms. Analysis consists of: investigating the consistency between the Item test and the Q-matrix using the IOC index, confirmatory factor analysis. examination of examination quality according to examination response theory. the reliability using the KR-20 method, the quality of the Q-matrix using the PVAF index, EPS, and the probability of skill knowledge using the G-DINA model. The research results : The most misconceptions were Digital Footprint Management, Balance Use of Technology and Media and Information Literacy. The test consists of 45 content, 61 indicators and 8 Digital Competency. The quality of Test was Item Response Theory and PVAF index found that 94 questions passed the criteria. As for the test results, it was found that 1) Students were different genders, ages, grades, and GPA had significantly different digital intelligence scores at the .05 level of significance. 2) The most test takers passed low level of the criteria, Item 2 was the highest of guessing (62 percent), Item 32 was the highest of slips. (60 percent) 3) All question had the probability that the examiner had strengths correctly more than .50, except for Item 31 and 4) The examiner’s greatest strength was the ddigital citizen identity. The digital intelligence diagnostic test system using cognitive diagnosis model with automated feedback for students in junior high school level, that was online network system written in PHP, MySQL database accessible at https://www.oneinthai. com/dq. The system consists of 6 parts: 1) registration 2) creating a test set 3) testing 4) scoring, estimating the probability of mastery and evaluation of digital intelligence 5) Diagnosis and (6) database design. The evaluation results of the design and operation of system was very effective. Results of user experience and user interface was at the highest level. Keywords: Cognitive diagnostic model, Digital intelligence, Diagnostic testing system |
เจ้าของลิขสิทธิ์: | กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ |
ดู/เปิด: |
ข่าวสารที่เกี่ยวข้อง
การพัฒนาสื่อสร้างสารภาษาไทยเพื่อการบริการสำหรับผู้บกพร่องทางการได้ยิน
17 มีนาคม 2568
21
ครั้ง
การพัฒนาแพลตฟอร์มแบบฝึกทักษะอัจฉริยะเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ในยุคปกติวิถีใหม่
17 มีนาคม 2568
20
ครั้ง
ข่าวสารล่าสุด
ร่วมแสดงความยินดีกับ ผอ.ศทก. เนื่องในโอกาสดำรงตำแหน่ง ที่ปรึกษาด้านเทคโนฯ
16 พฤษภาคม 2568
15
ครั้ง
ข้อมูลเชิงสถิติเรื่องร้องเรียนการทุจริตและประพฤติมิชอบประจำปี 2567
13 พฤษภาคม 2568
18
ครั้ง
ข้อมูลสถิติเชิงให้บริการ 2567
13 พฤษภาคม 2568
19
ครั้ง
โครงการพัฒนาองค์กรเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน ศทก.
30 เมษายน 2568
33
ครั้ง