โครงการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีล่ามภาษามือสามมิติในสื่อบทเรียนออนไลน์ของนักเรียน ที่บกพร่องทางการได้ยิน

เลขที่สัญญา 5/2565

Other Title: โครงการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีล่ามภาษามือสามมิติในสื่อบทเรียนออนไลน์ของนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน
Author: อภิวัฒน์ เตชะสุริยวรกุล
Date: 2022
Publisher: กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
Abstract: งานวิจัยในโครงการพัฒนานวัตกรรมเทคโนโลยีล่ามภาษามือสามมิติในสื่อบทเรียนออนไลน์ของนักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลการเรียนบทเรียนออนไลน์โดยใช้ล่ามภาษามือที่เป็นบุคคลกับล่ามภาษามือสามมิติ ที่ใช้เทคโนโลยี Inertial Sensor Modules และวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางการได้ยินต่อการใช้ล่ามภาษามือสามมิติในบทเรียนออนไลน์จากผลการศึกษาวิจัยพบว่า 1. การเปรียบเทียบผลการเรียนของนักเรียนทั้งสองกลุ่มผ่านแบบทดสอบก่อนและหลังบทเรียนออนไลน์ผลคะแนนสอบจากการใช้ล่ามสามมิติ พบว่าค่าเฉลี่ย คะแนนสอบหลังเรียน มากกว่าคะแนนสอบก่อนเรียน ผลคะแนนสอบจากการใช้บุคคลจริงเป็นล่าม พบว่าค่าเฉลี่ย คะแนนสอบหลังเรียน น้อยกว่าคะแนนสอบก่อนเรียน 2. การเปรียบเทียบผลการเรียนของนักเรียนในกลุ่มเดียวกัน โดยใช้สถิติ Wilcoxon Signed Rank Test พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน จากการใช้ล่ามภาษามือบุคคลไม่แตกต่าง และผลการเรียนรู้ของนักเรียน จากการใช้ล่ามภาษามือสามมิติแตกต่าง โดยมีคะแนนสูงขึ้น อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 3. การเปรียบเทียบผลการเรียนของนักเรียนระหว่างกลุ่ม กลุ่ม โดยใช้สถิติ Mann-Whitney พบว่า ค่ากลางของคะแนนก่อนเรียนของนักเรียนกลุ่มที่ใช้ล่ามภาษามือบุคคลกับล่ามภาษามือสามมิติแตกต่างกัน แต่ไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ 4. ผลที่ได้จากการประเมินความพึงพอใจพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถาม มีความพึงพอใจต่อล่ามบุคคลมากกว่าล่ามที่เป็นสามมิติในทุกประเด็น ยกเว้น ประเด็นการแสดงภาษามือได้ชัดเจน เข้าใจง่าย ที่ความพึงพอใจของของล่ามสามมิติมากกว่าล่ามบุคคล
คำหลัก : ล่ามภาษามือบุคคล ล่ามภาษามือสามมิติ สื่อบทเรียนออนไลน์ มนุษย์เสมือนจริง นักเรียนที่บกพร่องทางการได้ยิน
         The research project on the development of a three-dimensional sign language metahuman technology in online learning media for hearing-impaired students aimed to study and compare the learning outcomes of online lessons using a human sign language interpreter and a three-dimensional sign language metahuman that used Inertial Sensor Modules technology and to measure the satisfaction of hearing-impaired students towards the use of a three-dimensional sign language metahuman in online lessons. The research findings were as follows:
                  1. Comparing the learning outcomes of both groups of students through pre-tests and post-tests, the scores from using the three-dimensional metahuman showed that the average post-test score was higher than the pre-test score. The scores from using a real person as an interpreter showed that the average post-test score was lower than the pre-test score.
                  2. Comparing the learning outcomes of students in the same group using Wilcoxon Signed Rank Test, it was found that the learning outcomes of students from using a human interpreter did not differ and the learning outcomes of students from using a three-dimensional metahuman differed with higher scores, but not statistically significant.
                  3. Comparing the learning outcomes of students between groups using Mann-Whitney statistics, it was found that the median of the pre-test scores of the students in the group that used a human interpreter and the group that used a three-dimensional metahuman differed, but not statistically significant.
                  4. The results from the satisfaction evaluation showed that the respondents had more satisfaction towards the human interpreter than the three-dimensional avatar in every aspect, except for the aspect of clear and easy-to-understand sign language expression, which the satisfaction of the three-dimensional metahuman was higher than the human interpreter.
Keywords : Sign language interpreter, Three-dimensional sign language interpreter, Online lesson media, Metahuman, Hearing impaired students
เจ้าของลิขสิทธิ์: กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ดู/เปิด: ดาวน์โหลด