แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ทักษะโลกดิจิทัลและโลกอนาคตสำหรับกลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์

เลขที่สัญญา 3/2566

Other Title: แพลตฟอร์มดิจิทัลเพื่อสร้างระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ทักษะโลกดิจิทัลและโลกอนาคตสำหรับกลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์
Author: เขมิสรา กุลมาตย์
Date: 2023
Publisher: กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
Abstract: แพลตฟอร์มดิจิทัลระบบนิเวศการเรียนรู้ E-learning ชื่อ P’TAM นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและพัฒนาแพลตฟอร์มดิจิทัลระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ทักษะโลกดิจิทัลและโลกในอนาคตสำหรับกลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ 2) ศึกษาการยอมรับและความเชื่อมั่นต่อแพลตฟอร์มดิจิทัลระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ทักษะโลกดิจิทัลและโลกในอนาคตสำหรับกลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ 3) เผยแพร่ ถ่ายทอดและนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ สร้างโอกาส ความเสมอภาค และความเท่าเทียมทางการศึกษาครอบคลุมทุกพื้นที่ กลุ่มเป้าหมายเป็นครูกลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ในเขตพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา จังหวัดนราธิวาสจำนวน 89 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แพลตฟอร์มดิจิทัลระบบนิเวศการเรียนรู้ E-Learning ชื่อP’TAM แบบประเมินวัดผลลัพธ์การเรียนรู้ดิจิทัล และแบบสอบถามการยอมรับและความเชื่อมั่น ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ 20 KR −ผลการวิจัย พบว่า 1) ครูคณิตศาสตร์มีความรู้ ทักษะ ความสามารถ ผลลัพธ์การเรียนรู้ออนไลน์แพลตฟอร์มดิจิทัลระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ทักษะโลกดิจิทัลและโลกในอนาคต (ฟังก์ชัน E-learning ชื่อP’TAM) ผ่านเกณฑ์ 70 % คิดเป็นร้อยละ 91.01 2) ผลการศึกษาการยอมรับและความเชื่อมั่นต่อแพลตฟอร์มดิจิทัลระบบนิเวศการเรียนรู้สู่ทักษะโลกดิจิทัลและโลกในอนาคตสำหรับกลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์ มีความคิดเห็นโดยเฉลี่ยเท่ากับ
𝑥̅ = 4.30, S.D.= 0.7 อยู่ในระดับดี
คำสำคัญ: การเรียนออนไลน์, แพลตฟอร์มดิจิทัล,ระบบนิเวศการเรียนรู้,กลุ่มวิชาชีพครูคณิตศาสตร์
         The digital learning platform named P’TAM, aims to 1) create and develop a digital platform to build a digital and future-ready educational environment for mathematics teachers 2) study the acceptance and confidence in the digital platform for developing digital and future-ready skills among mathematics teachers and 3) disseminate, transfer, and apply technology to create opportunities, equality, and educational coverage across all areas. The target group consists of mathematics teachers in the educational innovation zone of Narathiwat Province, totaling 89 people. The research tools used include the digital environmental education platform, named P’TAM, a digital learning outcome assessment, and acceptance and confidence surveys. Data analysis was conducted using basic statistics, including percentages, average numerical values, and standard deviations.
         The research results found that: mathematics teachers demonstrated the requisite knowledge, skills, and learning outcomes on the digital platform for creating a digital and future-ready educational environmental (E-learning platform named P’TAM) with a success rate of 70%, equivalent to 91.01%. The acceptance and confidence of the digital platform in creating a digital and future-ready educational environment among mathematics teachers had a mean score of mean = 4.30, standard deviation = 0.7 indicating a high level of satisfaction.
Keyword: Online Learning, Digital Platform, Learning Ecosystem, Mathematics Teachers
เจ้าของลิขสิทธิ์: กองทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ
ดู/เปิด: ดาวน์โหลด